วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Kingdom Plantae

 สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช มีหน้าที่สำคัญต่อระบบนิเวศคือการทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตให้กับสายใยอาหาร   เนื่องจากพืชสามารถนำสารอนินทรีย์ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการสร้างอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้งและน้ำตาลให้กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้นอกจากคาร์โบไฮเดรต สิ่งที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์อาหารด้วยแสงของพืชยังมีแก๊สออกซิเจนซึ่งเป็นแก๊สที่สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ในโลกนี้จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหายใจและพืชใช้แก๊สO2เป็นวัตถุดิบในการสร้างอาหารพืชจึงมีบทบาทในการช่วยรักษาอุณหภูมิโลกส่วนหนึ่งดังมีรายงานยืนยันว่า ป่าในเขต Tropic มีส่วนช่วยในการลดความร้อนของโลก (อย่างไรก็ตามเนื่องจาก Scientific uncertainty ข้อมูลดังกล่าวมีข้อเสนอที่แตกต่างออกไปด้วยคือมีรายงานบางฉบับระบุว่าป่านอกเขต Tropic เป็นตัวกักเก็บความร้อนไว้)
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่ประกอบขึ้นจากเซลล์แบบยูคาริโอติกแต่พืชต่างจากสัตว์ที่พืชนั้นมีผนังเซลล์และพืชนั้นแตกต่างจากเห็ดราเพราะองค์ประกอบของผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่พืชสามารถแปรเปลี่ยนพลังงานจากแสงให้เก็บไว้ในรูปของพลังงานเคมีโดยอาศัยรงควัตถุต่างๆ
การจัดจำแนกพืชนั้นมีด้วยกันหลายแบบจากหลายกลุ่มที่ทำการศึกษาในยุคของWhittacker (1986) ได้แบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่มคือสาหร่ายหลายเซลล์ (Multicellular algae) ไบรโอไฟท์ (Bryophyte) และเทรคีโอไฟต์ (Tracheophyte) และต่อมาเมื่อมีการนำความรู้ด้านชีววิทยาโมเลกุลมาช่วยในการจัดกลุ่มก็มีการเปลี่ยนแปลงไปไปอีกและมีรูปแบบการจัดที่หลากหลายมากมายมีการเปลี่ยนแปลงชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับ Division ไปจนถึงระดับ Species หากแบ่งรูปแบบการจัดจำแนกพืชจากอดีตถึงปัจจุบันอาจแบ่งเป็น 5 ยุค คือ


  ยุคที่ 1 ยุคโบราณ (Period of the Ancients ก่อนคริสต์ศักราช 300 ปีค..1500)
การจัดจำแนกพืชในยุคนี้มีการจำแนกพืชโดยใช้รูปร่าง (Form) ลักษณะนิสัย (Habit) และ
ขนาด 
(Size) หรือการใช้ประโยชน์ของพืชเป็นหลักนักพฤกษศาสตร์ที่สำคัญในยุคนี้ คือ Theophrastus ซึ่งได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของพืชมีดอกกับพืชไม่มีดอกพืชมีเพศผลเจริญมาจากรังไข่และจัดพวกไม้ยืนต้นเป็นพวกที่มีความเจริญสูงสุด

  ยุคที่ 2 ยุคนักสมุนไพร (Period of the Herbalists ..1500-1580)
ในยุคนี้มีนักพฤกษศาสตร์ที่ศึกษาพืชสมุนไพรและการจัดจำแนกพืชออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่ม
พืชมี
ดอก (Perfecti) และกลุ่มพืชที่ไม่มีการสร้างดอก (Imperfecti) และแบ่งกลุ่มพืชตามลักษณะภายนอกที่เห็นคือไม้ยืนต้นและไม้พุ่มและไม้เนื้ออ่อน

  ยุคที่ 3 ยุคที่มีการจัดจำแนกพืชโดยเลือกลักษณะสำคัญบางอย่างของพืชขึ้นมาเป็นหลัก
              (Period of 
Mechanical Systems ..1580-1760)
ยุคนี้นำเอาลักษณะของอวัยวะที่สำคัญของพืชมาใช้เป็นหลักในการจำแนกเช่นลักษณะของเกสรตัวผู้และตัวเมียนักพฤกษศาสตร์ที่สำคัญในยุกต์นี้คือ (Carolus Linnaeus) ซึ่งได้จัดจำแนกพืชเป็นหมวดหมู่โดยใช้จำนวนเกสรตัวผู้ของพืชเป็นหลักและมีการตีพิมพ์กฎเกณฑ์การตั้งชื่อระบบการจัดจำแนกพืชของ Linnaeusได้รับความนิยมมากในสมัยนั้นแต่ต่อมามีระบบใหม่ที่เหมาะสมกว่าเกิดขึ้นและนิยมใช้มากกว่า

  ยุคที่ 4 ยุคที่มีการจำแนกโดยยึดหลักใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด
              (Period of Natural System ..1760-1880)
ในยุคนี้มีแนวคิดว่าธรรมชาติสามารถอยู่คงที่จึงสามารถยึดหรือนำเอาลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตมาเป็นหลักในการจำแนกทั้งลักษณะโครงสร้างสัณฐานของอวัยวะแทบทุกส่วนของพืชมาใช้ประกอบและยังคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่มีสายพันธุ์ใกล้ชิดและใช้ลักษณะของดอกมาเป็นหลักในการแบ่งแยกกลุ่มพืชมากที่สุด

  ยุคที่ 5 ยุคที่มีการจัดจำแนกตามแนวคิดของประวัติวิวัฒนาการจนถึงปัจจุบัน
              (Period of PhylogenicSystem ..1880-ปัจจุบัน)
Arthur Cronquist (1966) ได้มีการศึกษาและจำแนกพืชตามดิวิชั่นโดยใช้รากฐานมาจากโครงสร้างประวัติวิวัฒนาการโดยใช้ศาสตร์หลายแขนงมารวมกันโดยแบ่งอาณาจักรพืชออกเป็น 2 Sub-kingdom ดังนี้
        1. Subkingdom Thallobionta ได้แก่  แบคทีเรียสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสาหร่ายและเห็ดรา
        2. Subkingdom Embryobionta ได้แก่  อาณาจักรพืช (Plantae) ซึ่งแบ่งเป็น Division ดังนี้
           2.1) Division ของพืชที่ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง (Nonvascular plants) ได้แก่ Division Bryophyta
 (มอส) Hepatophyta (ลิเวอร์เวอร์ท) Anthocerotophyta (ฮอร์นเวอร์ท)
           2.2) Division ของพืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงแต่ไม่มีเมล็ด (Vascular plants without seeds) ได้แก่
Division PsilotophytaLycophytaEquisetophytaPteridophyta
           2.3) Division ของพืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงมีเมล็ดแต่ไม่มีดอก (Gymnosperms) ได้แก่ Division
ConiferophytaCycadophytaGinkgophytaGnetophyta
          2.4) Division ของพืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงมีเมล็ดและมีดอก (Angiosprems) ได้แก่                     
Division
 Magnoliophyta (=Angiospermae) นี้แบ่งออกเป็น 2 Class คือClass Magnoliopsida 
(พืชใบเลี้ยงคู่) แยกเป็น 6 Sub-class 64 อันดับ 318 วงศ์รวมมีพืชประมาณ 165,000 ชนิด
Class Liliopsida (พืชใบเลี้ยงเดี่ยว) แยกเป็น 5 Sub-class 19 อันดับ 65 วงศ์รวมมีพืชทั้งหมด
50,000 ชนิด




ลักษณะร่วมที่สำคัญ
1.เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์เเสงสร้างอาหารได้
   
(multicellura photosynthesis organism)  เรียกว่า ออโตโทรป (autotrope)
2.โครงสร้างของพืชประกอบด้วย cell ส่วนใหญ่ที่มีรวค์วัตถุดูดซับเเสง คือ คลอโรฟิลด์
   ซึ่งบรรจุอยู่ในคลอโรพลาสต์ 

3.มีการรวมกลุ่มของเซลล์เป็นเนื้อเยื่อเพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง
4.วัฏจักรชีวิตมีการสืบพันธุ์เเบบสลับ (alternation of generation)
   มีทั้งช่วงชีวิตที่เป็นระยะสปอโรไฟต์ (2n) 
เเละช่วงชีวิตที่เป็นระยะเเกมีโทไฟต์ (n)
   ที่สืบพันธุ์ได้ทั้งสองระยะ

5.มีการเจริญเติบโตของเอมบริโอ (young sporophyte) ภายในต้นเเม่ซึ่งเเตกต่างจากสาหร่าย
   ที่เอ็มบริโอจะเจริญเติบโตอย่างอิสระ

6.เซลล์พืชมีผนังเซลล์ (cell wall) เป็นสารเซลล์ลูโลสที่เเข็งเเรงห่อหุ้มอยู่ภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์ 

     วงชีวิต (life cycle) ของพืชเป็นวงชีวิตแบบสลับ (Alternation of Generation) คือ ประกอบด้วยช่วงชีวิตที่เป็นสปอโรไฟต์ (sporophyte generation) ทำหน้าที่สร้างสปอร์ (spore) สลับกับช่วงชีวิตที่เป็นแกมีโทไฟต์ (gametophyte generation) ทำหน้าที่สร้างแกมีต (gamete) ได้แก่ เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้หรือสเปิร์ม (sperm) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียหรือไข่ (egg) ซึ่งจะมารวมกันเพื่อให้ได้เป็นเซลล์ใหม่คือ ไซโกต (zygote)




วิวัฒนาการของพืช

การปรับตัวของพืชเพื่อขึ้นมาอยู่บนบก

           ดังที่ทราบมาแล้วว่าบรรพบุรุษของพืชเป็นบรรพบุรุษของสาหร่ายอันดับโคลีโอคีเทเลส  จึงอาจ

สันนิษฐานได้ว่าบรรพบุรุษของพืชเป็นสาหร่ายที่อยู่ในน้ำ และอาจมีประสบการณ์ต่อภาวะการ
ขาดน้ำในบางฤดูกาล โดยเฉพาะบริเวณแหล่งน้ำตื้นๆ ในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งน้ำตามแหล่งธรรมชาติ
มักแห้งขอด การดำรงชีวิตจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวเองเพื่อให้ผ่านช่วงเวลาที่ขาดน้ำนี้

          พืชแตกต่างจากสาหร่ายอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตในน้ำ  การเป็นสิ่งมีชีวิตบนบก ทำให้พืชต้องมี

การปรับตัวให้เหมาะกับสภาพดังกล่าวโดยพืชได้ปรับตัวใน 3 ด้านคือ

1) การปรับตัวด้านโครงสร้าง 

2) องค์ประกอบทางเคมี 
3) การสืบพันธุ์

การปรับตัวด้านโครงสร้างของพืช


          การปรับตัวด้านโครงสร้างของพืชสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจำเป็นต้องใช้น้ำในการดำรงชีวิต สำหรับ 

ชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำ น้ำจึงไม่ใช่ปัจจัยจำกัดของการดำรงชีวิต พืชบกจำเป็นต้องปรับโครงสร้าง
เพื่อที่จะรักษาน้ำไม่ให้ออกไปจากโครงสร้างที่สัมผัสอากาศ โดยการสร้างสารเคมีพวกขี้ผึ้งคือ
คิวติเคิล (cuticle) มาฉาบที่ผิวของต้น และใบ

         เมื่อไม่มีน้ำล้อมรอบพืชจึงจำเป็นต้องปรับโครงสร้างที่สามารถดูดน้ำจากถิ่นที่อยู่โดยรอบ และ

โครงสร้างที่จะใช้ในการลำเลียงน้ำคือมีการสร้างรากและเนื้อเยื่อที่ใช้ในการลำเลียงน้ำเป็นการเฉพาะ

         พืชมีการสร้างอาหารซึ่งจะต้องใช้วัตถุดิบจากอากาศ คือ คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ น้ำที่ลำเลียง

จากรากไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของพืชก็ใช้ในการสังเคราะห์แสงเช่นกัน เมื่อมีน้ำมากพืชจำเป็นต้อง
ระบายออก จึงมีการสร้างปากใบ (stomata) เพื่อเป็นช่องทางผ่านเข้าออกของน้ำและก็าซ






การปรับตัวด้านองค์ประกอบทางเคมีของพืช

            คิวติเคิล (cuticle) ที่ฉาบที่ผิวของพืชเป็นสารประกอบทางเคมีที่เรียกว่า "secondary products" เป็นสารประกอบที่พืชสร้างขึ้นเป็นพิเศษ แตกต่างจาก primary product ซึ่งเป็นสารประกอบพื้นฐานที่พืชใช้ในการดำรงชีวิต  secondary products เป็นสารประกอบที่เชื่อว่าพืชสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้พืชอยู่รอดได้ ดังนั้นจึงเป็นสารประกอบที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงสำหรับพืชแต่ละกลุ่ม เช่น secondary products หลายชนิดมีความเป็นพิษซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสัตว์ที่จะมากินพืช

            ลิกนิน (lignin) เป็นตัวอย่างของ secondary products ซึ่งเป็นสารเคมีที่พืชสร้างขึ้นมาฉาบที่ผนังเซลล์ทำให้ผนังเซล์ของพืชมีความแข็งแรง ซึ่งมักจะพบมากในพืชที่มีเนื้อไม้เจริญดี
            secondary products อีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญคือ สปอโรพอลเลนิน (sporopollenin) เป็นโพลิเมอร์ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมมาก พบสารชนิดนี้ที่ผนังสปอร์และเรณู


การปรับตัวด้านการสืบพันธุ์ของพืช


            พืชในยุคแรกๆ สร้างเซลล์สืบพันธุ์ภายในอับเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งมีกลุ่มเซลล์ที่เป็นหมันมาหุ้มเป็น

ผนังเพื่อปกป้อง เซลล์สืบพันธุ์ที่บอบบางไม่ให้แห้งเหี่ยวไปในระหว่างการพัฒนาของเซลล์
            การปฏิสนธิเป็นแบบการปฏิสนธิภายในอับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย  ซึ่งไซโกตจะพัฒนาต่อไปเป็น
เอมบริโอ และเจริญต่อไปเป็นสปอโรไฟต์
            การสร้างเอมบริโอเป็นลักษณะเฉพาะที่พบในพืชเท่านั้น ซึ่งเอมบริโอจะถูกปกป้องโดยผนัง
อับเซลล์สืบพันธุ์ในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะเจริญต่อไปเป็นสปอโรไฟต์ที่เจริญเต็มที่
            การสร้างเรณูเป็นการปรับตัวให้อยู่ในสภาพบนบกเพิ่มมากขึ้น โดยสเปิร์มจะปฏิสนธิกับไข่โดย
ไม่ต้องอาศัยน้ำเป็นตัวกลางดังที่ยังคงพบในพืชพวกไบร์โอไฟต์ (Bryophytes) และเทอริโดไฟต์ (Pteridophytes)




อนุกรมวิธานพืช (Plant taxonomy)

อนุกรมวิธานพืชเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับกิจกรรมสามกิจกรรมโดยมีลำดับดังนี้คือ

- การจัดจำแนกพืช (plant classification)
- การตั้งชื่อพืช (plant nomenclature)
- การระบุชนิดของพืช (plant identification)
- การศึกษาด้านนี้ มีมาตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักนำพืชมาใช้ประโยชน์ โดยในการศึกษาใช้หลักเกณฑ์
ง่ายๆ ตั้งแต่ใช้ลักษณะเพียงลักษณะเดียวในอดีตจนกระทั่งถึงใช้ลักษณะหลายๆ ลักษณะร่วมกัน
ในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ของกิจกรรมทั้งสามสามารถแสดงได้ดังนี้






การจัดจำพวกพืชเป็น 9 ดิวิชัน



ดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta)



           เรียกโดยทั่วไปว่า ไบรโอไฟต์ (bryophyte)มีทั้งสิ้นประมาณ 16,000 ชนิด พืชในดิวิชันนี้มีขนาดเล็ก มีโครงสร้างง่ายๆ ยังไม่มีราก ลำต้นและใบที่แท้จริง ชอบอาศัยอยู่ตามที่ชุ่มชื้น การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศยังต้องอาศัยน้ำสำหรับให้สเปิร์มที่มีแฟลกเจลลา (flagella) ว่ายไปผสมกับไข่ ต้นที่พบเห็นโดยทั่วไปคือแกมีโทไฟต์ (มีแกมีโทไฟต์เด่น) รูปร่างลักษณะมีทั้งที่เป็นแผ่นหรือแทลลัส (thallus) และคล้ายลำต้นและใบของพืชชั้นสูง (leafy form) มีไรซอยด์ (rhizoid) สำหรับยึดต้นให้ติดกับดินและช่วยดูดน้ำและแร่ธาตุ มีส่วนคล้ายใบ เรียก phylloidและส่วนคล้ายลำต้นเรียกว่า cauloidแกมีโทไฟต์ของไบรโอไฟต์มีสีเขียวเพราะมีคลอโรฟิลล์สามารถสร้างอาหารได้เอง ทำให้อยู่ได้อย่างอิสระ เมื่อแกมีโทไฟต์เจริญเต็มที่จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์คือสเปิร์มและไข่ต่อไป ภายหลังการปฏิสนธิของสเปิร์มและไข่จะได้ไซโกตซึ่งแบ่งตัวเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโอและสปอร์โรไฟต์ตามลำดับ สปอโรไฟต์ของ ไบรโอไฟต์มีรูปร่างลักษณะง่าย ๆ ไม่สามารถอยู่ได้อย่างอิสระจะต้องอาศัยอยู่บนแกมีโทไฟต์ตลอดชีวิต พืชในดิวิชันนี้สร้างสปอร์เพียงชนิดเดียว 

จำแนกพืชในดิวิชันไบรโอไฟตาได้เป็น 3 คลาส (Class) ดังต่อไปนี้ 

1.คลาสเฮปาทิคอปซิดา (Class Hepaticopsida) เรียกโดยทั่วไปว่า ลิเวอร์เวิร์ต (liverwort) มีอยู่ประมาณ 6,000ชนิด แกมีโทไฟต์มีทั้งที่เป็นแทลลัส (thalloid liverwort) และที่คล้ายคลึงกับลำต้นและใบ (leafy liverwort) สปอโรไฟต์มีส่วนประกอบ เป็น 3ส่วน คือ ฟุต (foot) เป็นเนื้อเยื่อที่ฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อแกมีโทไฟต์ เพื่อทำหน้าที่ดูดอาหารมาใช้ ก้านชูอับสปอร์ (stalk หรือ seta) และอับสปอร์ (sporangium หรือ capsule) ที่ทำหน้าที่สร้างสปอร์ ตัวอย่างของลิเวอร์เวิร์ตที่เป็นแทลลัส ได้แก่ Marchantia และที่มีลักษณะคล้ายลำต้นและใบ ได้แก่ Porella แกมีโทไฟต์ของ Marchantia มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นแผ่นแบนราบ ตอนปลายแตกแขนงเป็น 2 แฉก (dichotomous branching) ด้านล่างของเทลลัสมีไรซอยด์ ด้านบนมักพบโครงสร้างที่มีรูปร่างคล้ายถ้วย เรียกว่า เจมมา คัป (gemma cup) ภายในเนื้อเยื่อเจมมา(gemma)อยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเมื่อแต่ละเจมมา หลุดออกจากเจมมาคัปแล้ว สามารถเจริญแกมีโทไฟต์ต้นใหม่ได้ นับเป็นการสืบพันธุ์แบบไม่ อาศัยเพศ แบบหนึ่งนอกเหนือไปจากการแยกออกเป็นส่วนๆ (fragmentation) เสเปิร์มและไข่ถูกสร้างขึ้นในอวัยวะ ที่มารวมกลุ่มเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะ เป็นก้านชู ที่เจริญอยู่บนแกมีโทไฟต์



Liverwort





2.คลาสแอนโทเซอรอปซิดา (Class Anthoceropsida) เรียกโดยทั่วไปว่า ฮอร์นเวิร์ต (hornwort) ไบรโอไฟต์ในดิวิชันนี้มีจำนวนไม่กี่ชนิด ตัวอย่างเช่น Anthoceros แกมีโทไฟต์มีลักษณะเป็นแทลลัสขนาดเล็ก รูปร่างค่อนข้างกลมมน ที่ขอบมีรอยหยักเป็นลอน ด้านล่างมีไรซอยด์ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแยกออกเป็นส่วนๆ เช่นเดียวกับพวกลิเวอร์เวิร์ต ต้นสปอไรไฟต์มีรูปร่างเรียวยาว ฝังตัวอยู่ด้านบน ของแกมีโทไฟต์ ประกอบไปด้วยฟุต และอัปสปอร์ขนาดยาว ซึ่งเมื่อเจริญเต็มที่ ปลายของอับสปอร์จะค่อย ๆ แตกออกเป็น 2 แฉก ทำให้มองดูคล้ายเขาสัตว์ จึงเรียกว่า ฮอร์นเวิร์ต




Hornwort




3.คลาสไบรออฟซิดา (Class Bryopsida) เรียกโดยทั่วไปว่า มอส (moss) เป็น ไบรโอไฟต์กลุ่มที่มีมากที่สุด คือประมาณ 9,500 ชนิด ต้นแกมีโทไฟต์มีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายลำต้นและใบ ส่วนที่คล้ายใบ เรียงตัวเป็นเกลียว โดยรอบส่วนที่คล้ายลำต้น มีไรซอยต์อยู่ในดิน สปอโรไฟต์มีลักษณะง่าย ๆ เกิดบนปลายยอดหรือปลายกิ่ง มีส่วนประกอบคือ ฟุต ก้านชูอับสปอร์ และอับสปอร์


Moss


ดิวิชันไซโลไฟตา (Division Psilophyta)


       พืชในดิวิชันนี้ที่พบได้ในประเทศไทย ได้แก่ Psilotumรู้จักกันในชื่อไทยว่า หวายทะนอยสปอโรไฟต์ของพืชนี้ มีรูปร่างลักษณะง่ายๆ คือมีแต่ลำต้นยังไม่มีรากและใบ ลำต้นมีลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อนขนาดสูงประมาณ 20 –30 เซนติเมตร ขึ้นอยู่ตามพื้นดิน (tcrrestrial) หรือเกาะติดกับต้นไม้อื่น (epiphyte) ลำต้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ใต้ดินเป็นลำต้นชนิดไรโซม (rhizome) มีสีน้ำตาล และมีไรซอยด์ทำหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุ ลำต้นส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน (acrial stem) มีสีเขียว มีลักษณะเป็นเหลี่ยม ลำต้นส่วนนี้ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง ทั้งลำต้นใต้ดินและลำต้นเหนือพื้นดิน แตกกิ่งเป็น 2 แฉก (dichotomous branching) ที่ส่วนของลำต้นเหนือพื้นดินมีระยางค์เล็กๆ (appcndage) ยื่นออกมาเห็นได้ทั่วไป สปอโรไฟต์ที่เจริญต้นที่จะสร้างอับสปอร์ที่มีรูปร่างเป็น 3 พู ที่ซอกของระยางค์บนลำต้นเหนือพื้นดิน อับสปอร์สร้างสปอร์ชนิดเดียว แกมีโทไฟต์มีขนาดเล็ก สีน้ำตาลไม่มีคลอโรฟิลล์ รูปร่างเป็นแท่งทรงกระบอก แตกแขนงได้ 






ภาพแสดงลักษณะและวงชีวิตของ Psilotum




  ดิวิชันไลโคไฟตา  (Division Lycophyta)




             สปอโรไฟต์ของพืชดิวิชันนี้มีราก ลำต้น และใบครบทุกส่วน มีลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก พวกที่เจริญอยู่บนพื้นดิน อาจมีลำต้นตั้งตรงหรือทอดนอน บางชนิดอาศัยเกาะบนต้นไม้อื่น ลำต้นแตกกิ่งเป็น 2 แฉก ใบมีขนาดเล็ก เป็นใบแบบไมโครฟิลล์ (microphyll) คือเป็นใบที่มีเส้นใบเพียงเส้นเดียว สปอโรไฟต์ที่เจริญเต็มที่แล้ว จะสร้างอับสปอร์บนใบที่มักมีรูปร่างและขนาดแตกต่างไปจากใบที่พบทั่วไป เรียกใบชนิดนี้ว่า สปอโรฟิลล์ (sporophyll) ซึ่งจะมาเรียงซ้อนกันแน่นอยู่ที่ปลายกิ่งเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า สโตรบิลัส (strobilus) หรือโคน (cone) พืชในดิวิชันนี้มีทั้งที่สร้างสปอร์ชนิดเดียวและ 2 ชนิด ตัวอย่างที่รู้จักกันดีได้แก่ Lycopldiumและ Selaginella  




Lycopodium


      Lycopldiumรู้จักในชื่อไทยว่า ช้องนางคลี่ สร้อยสุกรม สามร้อยยอด และหางสิงห์เป็นต้น ที่พบในปัจจุบันมีประมาณ 200 ชนิด ใบในขนาดเท่า ๆ กันเรียงตัวเป็นเกลียวโดยรอบลำต้นและกิ่ง เป็นพืชที่สร้างสปอร์ชนิดเดียว แกมีโทไฟต์มีขนาดเล็ก บางชนิดมีคลอโรฟิลล์เจริญอยู่บนพื้นดิน บางชนิดไม่มีคลอโรฟิลล์เจริญอยู่ใต้ดิน 



ดิวิชันสฟีโนไฟตา (Division Sphenophyta)

           พืชที่มีท่อลำเลียงในดิวิชันนี้มีเพียง วงศ์เดียว คือ Equisetaceae แกมีโตไฟต์มีขนาดเล็ก เจริญอยู่ใต้ดิน สปอโรไฟต์มีขนาดใหญ่ อายุยืน มีซิลิกา ลำต้นเป็นข้อปล้องชัดเจน ปล้องเป็นร่องและสั้น ข้อมีใบแบบ ไมโครฟิลล์อยู่รอบข้อ เรียงแบบ whorl เป็น homosporous plant โดยสปอแรงเจียมเจริญอยู่บนโครงสร้างที่เรียกว่า สปอแรงจิโอฟอร์ (sporangiophore)



Equisetum

           หญ้าถอดปล้องหรืออีควิเซตัม (ดิวิชันสฟีโนไฟตา) ต้นที่เห็นเด่นชัด คือสปอร์โรไฟต์มีอวัยวะสร้างสปอร์คือ สโตรบิลัส ซึ่งเป็นกลุ่มของสปอร์เเรงเจีย (อับสปอร์)







ดิวิชันเทอโรไฟตา (Division Pterophyta)

            พืชดิวิชันนี้มีชื่อทั่วไปว่า เฟิร์น (fern) มีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพโรไฟต์ของเฟิร์นมีราก ลำต้นและใบเจริญดี เฟิร์นส่วนใหญ่มีลำต้นใต้ดิน ใบของเฟิร์นเรียกว่า ฟรอนด์ (frond) เป็นส่วนที่เห็นเด่นชัด มีขนาดใหญ่เป็นใบแบบเมกะฟิลล์ (megaphyll) มีรูปร่างลักษณะเป็นหลายแบบ มีทั้งที่เป็นใบเดี่ยว (simple leaf) และใบประกอบ (compound leaf) ใบอ่อนของเฟิร์นมีลักษณะพิเศษคือ จะม้วนเป็นวง (circinatevenantion) สปอโรไฟต์ที่เจริญเต็มที่จะสร้างอับสปอร์ ซึ่งมารวมกลุ่มอยู่ที่ด้านได้ใบ แต่ละกลุ่มของอับสปอร์เรียกว่า ซอรัส (sorus) เฟิร์นส่วนใหญ่สร้างสปอร์ชนิดเดียว ยกเว้นเฟิร์นบางชนิดที่อยู่ในน้ำ และที่ชื้นแฉะ ได้แก่ จอกหูหนู แหนแดง และผักแว่นมีการสร้างสปอร์ 2 ชนิด





Fern


      
            แกมีโทไฟต์ของเฟิร์นที่สร้างสปอร์ชนิดเดียว มีลักษณะเป็นแผ่นแบนบางสีเขียว (มีคลอโรฟิลล์) ด้านล่างมีไรซอยด์ ส่วนใหญ่มักมีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ (prothallus)





ดิวิชันโคนิเฟอโรไฟตา (Division Coniferophyta)

           เป็นจิมโนสเปิร์มที่มีจำนวนมากที่สุด มีหลายสกุลด้วยกัน ที่รู้จักกันดีคือ Pinusได้แก่ สนสองใบ และสนสามใบ เป็นต้น สปอโรไฟต์ของ Pinusมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดค่อนข้างใหญ่ และแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก ใบมีขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายเข็ม อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม สปอโรไฟต์ที่เจริญเต็มที่จะสร้างโคนเพศผู้ที่มีขนาดเล็กและโคนเพศเมียที่มีขนาดใหญ่บนต้นเดียวกัน



Pinus







ดิวิชันไซแคโดไฟตา (Division Cycadophyta) 

           พืชดิวิชันนี้มีอยู่ประมาณ 60 ชนิด ตัวอย่างที่รู้จักกันดีคือ พวกปรง (Cycas) สปอโรไฟต์มีลำต้นอวบ เตี้ย และมักไม่แตกแขนง มีใบเป็นใบประกอบแบบขนนกขนาดใหญ่ เกิดเป็นกระจุกที่บริเวณยอดของลำต้น ใบย่อยมีรูปร่างเรียวยาว และแข็งสปอโรไฟต์ที่เจริญเต็มที่จะสร้างโคนเพศผู้ และโคนเพศเมีย แยกตัวกัน






ดิวิชันกิงโกไฟตา (Division Ginkophyta)

             ปัจจุบันมีเพียงชนิดเดียวคือ Ginkgo bilobaหรือแปะก๊วย เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ในเขตอบอุ่น เช่น ในประเทศจีน สปอโรไฟต์มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดสูงใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาเป็นจำนวนมาก ใบมีรูปร่างคล้ายพัด สปอโรไฟต์ที่เจริญเติบโตเต็มที่จะสร้างโคนเพศผู้และโคนเพศเมียแยกต้นกัน







ดิวิชันแอนโทไฟตา (Division Anthophyta)

แบ่งออกได้เป็น 2 คลาส คือ 
     1.คลาสไดคอทีเลโดเนส (Class Dicotyledones) ได้แก่ พืชใบเลี้ยงคู่ทั้งหมด มีอยู่ประมาณ 170,000 ชนิด ลักษณะทั่วไปคือ มีใบเลี้ยง 2 ใบ เส้นใบเป็นร่างแห รากเป็นระบบรากแก้ว และส่วนประกอบของดอก (เช่น กลีบเลี้ยง กลีบดอก) มีจำนวนเป็น 4–5 หรือ ทวีคูณของ 4–5 




Dicotyledones

     

2.คลาสมอโนคอทีเลโดเนส (Class Monocotyledones) ได้แก่ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 60,000 ชนิด ลักษณะทั่วไป คือ มีใบเลี้ยงใบเดียว ใบมีเส้นใบเรียงตัวแบบขนาน รากเป็นระบบรากฝอย ส่วนประกอบของดอกมีจำนวนเป็น 3 หรือทวีคูณของ 3





Monocotylédones






สถานภาพของพืชในประเทศไทย
            การศึกษาสถานภาพของพืชในประเทศไทยยังอยู่ในวงจำกัดมาก ทั้งนี้เนื่องจากขาดนักวิชาการที่จะทำวิจัยและแหล่งเงินทุนสนับสนุนการวิจัย และอาจเนื่องจากการวิจัยลักษณะนี้จำเป็นต้องใช้
เวลาในการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเมื่อเทียบกับการวิจัยในลักษณะอื่นๆ

สถานภาพของพืชสามารถจำแนกออกได้เป็น
1.พืชที่พบมาก (common plants)
2.พืชถิ่นเดียว (endemic plants)
3. พืชหายาก (rare plants)
4.พืชที่มีแนวโน้มใกล้จะสูญพันธุ์ (vulnerable plants)
5.พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ (endangered plants)
6.พืชที่สูญพันธุ์ (extinct plants)



ที่มาข้อมูล :
1. 
http://www.llnl.gov/pao/news/news_releases/2006/NR-06-12-02.html
2. http://writer.dek-d.com/anything-blabla/story/viewlongc.php?id=742434&chapter=20
3. http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/571-00/
4. https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/xanacakr-sing-mi-chiwit/xanacakr-phuch








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น